เมนู |
เนื้อหา |
ประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว
บริษัท อะมะดะ (ประเทศไทย) จำกัด
1. บทนำ
บริษัท อะมะดะ (ประเทศไทย) จำกัด (เรียกว่า “บริษัท”) ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่านที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และฉบับปรับปรุงแก้ไขตามที่จะมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นครั้งคราว รวมทั้งกฎหมาย และกฎระเบียบที่ใช้บังคับอื่น ๆ (เรียกว่า “พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”) เพื่อให้การเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้รับความคุ้มครองตามที่กฏหมายกำหนด และเป็นไปเพื่อวัตุประสงค์ในการดำเนินกิจการของบริษัท จึงได้กำหนดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฉบับนี้ขึ้นเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์นโยบาย และการปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้องตามที่พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด
2. ขอบเขตของนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางของบริษัทที่ปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคล วัตถุประสงค์ของการการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทอาจการประมวลผล วิธีการที่บริษัทมุ่งหมายจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคล การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่บุคคลภายนอกทราบ การเก็บรวบรวม และการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล วิธีการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงสิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หากเห็นว่าบริษัทกระทำการขัดต่อ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่บังคับใช้ บริษัทจึงประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยมีรายละเอียดตามประกาศฉบับนี้
3. คำนิยาม
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลธรรมดาซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
“ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว” หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งอาจก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกัน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 26 พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และฉบับปรับปรุงแก้ไขตามที่จะมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นครั้งคราว รวมทั้งกฎหมาย และกฎระเบียบที่ใช้บังคับอื่น ๆ
“เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า ผู้ให้บริการ กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ผู้มาติดต่อ และบุคคลธรรมดาอื่นใดที่บริษัทมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลธรรมดานั้น แต่ไม่ใช่กรณีที่บุคคลมีความเป็นเจ้าของข้อมูล (Ownership) หรือเป็นผู้สร้างหรือเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นเอง โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนี้จะหมายถึงบุคคลธรรมดาเท่านั้น และไม่รวมถึง “นิติบุคคล” (Juridical Person) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย เช่น บริษัท สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรอื่นใด
“การประมวลผลข้อมูล” หมายถึง การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงการดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในนโยบายนี้
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งมีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งมีหน้าที่จัดการ และตรวจสอบการดำเนินงานที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
“ฐานทางกฎหมาย” หมายถึง เหตุที่กฎหมายรองรับให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายฉบับนี้ไม่ได้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา หรือข้อตกลงฉบับใด ๆ เว้นแต่เท่าที่บริษัทจะได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา หรือข้อตกลงนั้น บริษัทอาจทบทวน และปรับปรุงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ได้เป็นครั้งคราวไป เช่น เพื่อให้มีความสอดคล้องเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเทคโนโลยีของบริษัท
4. ประเภทของบุคคลที่บริษัททำการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
ภายใต้นโยบายฉบับนี้ กลุ่มหรือประเภทของบุคคลที่บริษัทเก็บรวบรวม และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลประกอบด้วย
4.1 พนักงาน หมายถึง บุคคลซึ่งทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ให้กับบริษัท และได้รับค่าจ้าง สวัสดิการ และค่าตอบแทนอื่น ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรเพื่อตอบแทนการทำงาน เช่น กรรมการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ พนักงาน บุคลากร ผู้ฝึกงาน พนักงานรับเหมาค่าแรง หรือบุคคลอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน รวมถึงสมาชิกครอบครัวและบุคคลที่สามอื่น ๆ ที่บุคลากรได้ให้ข้อมูลไว้ตามวัตถุประสงค์ของนโยบายฉบับนี้ ทั้งนี้ รวมถึงพนักงาน (บุคลากร) ชาวต่างชาติของบริษัทในเครือจากต่างประเทศที่มาทำงานภายใต้สังกัดบริษัทในประเทศไทย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
4.2 ผู้สมัครงาน หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งแสดงความประสงค์จะเข้ารับการคัดเลือกหรือสัมภาษณ์งาน เพื่อทำสัญญากับบริษัทเป็นพนักงานประจำ พนักงานชั่วคราว รวมถึงพนักงานรับเหมาค่าแรง หรือบุคลากรในตำแหน่งอื่นใดที่ทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ให้กับบริษัท และได้รับค่าจ้าง สวัสดิการ และค่าตอบแทนอื่น ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรเพื่อตอบแทนการทำงาน ไม่ว่าจะแสดงความประสงค์ด้วยตนเองมายังบริษัทโดยตรง หรือผ่านการดำเนินการของบริษัทจัดหางานภายนอก หรือองค์กรภายนอกอื่นใด ทั้งนี้ รวมถึงบุคคลอื่นซึ่งผู้สมัครงานได้ให้ข้อมูลไว้กับบริษัท รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง บุคคลซึ่งผู้สมัครงานได้อ้างอิงไว้ในเอกสารสมัครงาน สมาชิกในครอบครัวของผู้สมัครงาน บุคคลที่สามารถติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น
4.3 ผู้สมัครฝึกงาน นักศึกษาฝึกงาน หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งทางบริษัทพิจารณาหรือได้รับเข้ามาปฏิบัติงานเป็นผู้ฝึกงานภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด และบุคคลอื่นที่ผู้สมัครฝึกงาน หรือนักศึกษาฝึกงานได้ให้ข้อมูลไว้แก่บริษัท
4.4 วิทยากร และผู้ประสานงานแทน หมายถึง วิทยากรในกิจกรรม หรืองานอบรม สัมมนาต่าง ๆ ที่เราได้จัดขึ้น หรือในฐานะซึ่งท่านเป็นตัวแทนนิติบุคคลหรือสถานฝึกอบรมซึ่งมาให้บริการกับบริษัท หรือในฐานะที่ท่านเป็นเลขานุการหรือผู้ประสานงานแทนวิทยากร
4.5 ลูกค้า หมายถึง บุคคลที่จะซื้อหรือซื้อสินค้า และ/หรือรับบริการจากบริษัท หรือบุคคลอื่นที่ติดต่อสอบถามข้อมูลสินค้า และ/หรือบริการของบริษัท บุคคลที่รับทราบข้อมูลสินค้า และ/หรือบริการ ผ่านสื่อต่างๆ และบุคคลที่ได้รับการโฆษณาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสินค้า และ/หรือบริการของบริษัท และให้หมายรวมถึงบุคคลธรรมดาที่มีความเกี่ยวข้อง หรือเป็นตัวแทนของนิติบุคคลที่เป็นลูกค้า เช่น ผู้บริหาร กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ตัวแทน ผู้แทนหรือบุคคลธรรมดาอื่นใด และบุคคลที่มีข้อมูลส่วนบุคคลปรากฏในเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมระหว่างบริษัท กับนิติบุคคลนั้น เช่น ผู้ประสานงาน ผู้สั่งซื้อ ผู้รับสินค้า ผู้สั่งจ่ายเช็ค เป็นต้น รวมทั้งบุคคลที่นิติบุคคลนั้นได้ให้ข้อมูลไว้แก่บริษัทด้วย
4.6 ผู้เข้าร่วมการอบรม สัมมนา การศึกษาดูงาน หมายถึง บุคคลภายนอกผู้เข้าร่วมการอบรม สัมมนา การศึกษาดูงาน กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่จัดขึ้นโดยบริษัท ทั้งในรูปแบบ
4.7 ผู้ใช้งานเว็บไซต์ หมายถึง ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือแพลตฟอร์มของบริษัท ไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทำธุรกิจ เพื่อการสมัครงาน เพื่อการสมัครฝึกงาน เพื่อการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม หรือการอบรม สัมมนาและศึกษาดูงาน
4.8 คู่ค้า หมายถึง บุคคลที่จะขายหรือขายสินค้า และ/หรือบริการให้แก่บริษัท ไม่ว่าจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นคู่ค้ากับบริษัทหรือไม่ เช่น คู่สัญญา ผู้ให้บริการ ที่ปรึกษา เป็นต้น และให้หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาที่เกี่ยวข้องหรือเป็นตัวแทนของนิติบุคคลซึ่งเป็นคู่ค้า เช่น ผู้บริหาร กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ตัวแทน ผู้แทน หรือบุคคลธรรมดาอื่นใด และบุคคลที่มีข้อมูลส่วนบุคคลปรากฏในเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมระหว่างบริษัท กับนิติบุคคลนั้น เช่น ผู้ประสานงาน ผู้ส่งสินค้า ผู้สั่งจ่ายเช็ค เป็นต้น รวมทั้งบุคคลที่นิติบุคคลนั้นได้ให้ข้อมูลไว้แก่บริษัทด้วย
4.9 ผู้รับเหมาแรงงาน หมายถึง บุคคลของบริษัทให้บริการรับเหมาแรงงาน และบุคคลธรรมดาที่ให้บริการรับเหมาแรงงาน ซึ่งเข้ามาทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ใดๆให้กับบริษัท และบุคคลอื่นซึ่งผู้รับเหมาแรงงานได้ให้ข้อมูลไว้กับบริษัท รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงสมาชิกในครอบครัว บุคคลที่สามารถติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน ทายาทผู้รับผลประโยชน์ เป็นต้น
4.10 ผู้มาติดต่อ หมายถึง บุคคลภายนอกผู้มาติดต่อบริษัท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทในสถานที่ทำการของบริษัท ผู้ขอเข้าอาคาร สถานที่ปฏิบัติงาน หรือพื้นที่เฉพาะของบริษัท ไม่ว่าเพื่อกิจธุระใด ๆ
4.11 ผู้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ หมายถึง บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกค้า คู่ค้า หรือพนักงานของบริษัท ที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เช่น ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยราชการซึ่งกำกับการประกอบธุรกิจหรือกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการธุรกิจหรือผู้เข้าร่วมโครงการธุรกิจ ผู้สนใจเข้าร่วมลงทุนหรือผู้ร่วมลงทุน ตัวแทนหรือนายหน้าในการจัดหาสินค้าหรือบริการให้แก่บริษัท และให้หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาที่เกี่ยวข้องหรือเป็นตัวแทนของนิติบุคคลนั้น เช่น ผู้บริหาร กรรมการ พนักงาน ตัวแทน ผู้แทน หรือบุคคลธรรมดาอื่นใด และบุคคลที่มีข้อมูลส่วนบุคคลปรากฏในเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทกับนิติบุคคลนั้น
4.12 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเพื่อสังคม หมายถึง บุคคลธรรมดาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัท เช่น ชาวบ้าน ประชาชนทั่วไป นักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษา เป็นต้น
5. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยมี วัตถุประสงค์ ขอบเขต และใช้วิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม โดยในการเก็บรวบรวมนั้นจะทำเพียงเท่าที่จำเป็นแก่การดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์ของบริษัทเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการให้เจ้าของข้อมูล รับรู้ ให้ความยินยอมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามแบบวิธีการของบริษัท กรณีที่บริษัทจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวของเจ้าของข้อมูล บริษัทจะขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลโดยชัดแจ้งก่อนทำการเก็บรวบรวม เว้นแต่การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจะเข้าข้อยกเว้นตามที่ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมายอื่นกำหนดไว้
5.1 ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการจัดเก็บ ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทจะเก็บรวบรวมตามลักษณะของกิจกรรม สถานที่ รวมถึงวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามข้อมูลดังนี้
5.1.1 ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ได้แก่
5.1.2 ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ตามคำนิยามในข้อ 3
5.2 แหล่งที่มาในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล บริษัท จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
5.2.1 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง โดยผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่งดังต่อไปนี้
5.2.2 แหล่งข้อมูลสาธารณะ ทั้งของภาคเอกชน สมาคมการค้าใด ๆ หรือหน่วยงานภาครัฐ อาทิ เว็บไซต์ แอปพลิเคชั่น
5.2.3 ผู้ที่เกี่ยวข้องของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ทั้งนี้ หากบริษัท มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งอื่น บริษัทจะเก็บรวบรวมโดยการปฏิบัติตามที่ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้กำหนดไว้
5.3 แนวทางการเก็บประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยชอบด้วยกฏหมาย บริษัทจะดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลภายใต้ฐานทางกฎหมายที่กำหนดไว้ในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม เป็นธรรม หรือชอบด้วยกฏหมาย โปร่งใสและเท่าที่จำเป็นต่อการดำเนินการของบริษัท
5.3.1 กรณีข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจะทำได้ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขของฐานทางกฎหมายประการใดประการหนึ่งใน 7 ประการ ได้แก่
1) ฐานความยินยอม ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยฐานทางกฎหมายอื่นๆ ตามที่ระบุในนโยบายนี้ได้ บริษัทต้องขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนหรือในขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล การไม่ตอบรับหรือการนิ่งเฉยไม่ถือว่าเป็นความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
2) ฐานสัญญา เพื่อปฏิบัติตามสัญญาระหว่างบริษัทกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือเพื่อใช้ดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลก่อนเข้าทำสัญญากับบริษัท
3) ฐานปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้กับบริษัท ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้บริษัทเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้อาจรวมถึงการดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งศาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างไว้เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายการคุ้มครองแรงงาน การเก็บเอกสารทางบัญชีไว้เป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น
4) ฐานประโยชน์สำคัญต่อชีวิต เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล เช่น กรณีบริษัทมีความจำเป็นต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเนื่องจากอุบัติเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
5) ฐานประโยชน์สาธารณะ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ
6) ฐานประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย บริษัทอาจเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่บริษัทจำเป็นต้องเก็บข้อมูลดังกล่าวเพื่อใช้ดำเนินการเกี่ยวกับประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทหรือบุคคลที่สามซึ่งไม่ใช่เจ้าของข้อมูล ได้แก่ ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายในด้านการดำเนินธุรกิจของบริษัท และ/หรือบุคคลที่สาม ด้านการรักษาความปลอดภัยและปกป้องทรัพย์สินและบุคคลที่อยู่ภายในบริเวณของบริษัท ด้านการบริหารจัดการองค์กรของบริษัท เป็นต้น
7) ฐานจดหมายเหตุ/ วิจัย/ สถิติ เพื่อวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติ ซึ่งได้จัดให้มีมาตรการปกป้องที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
5.3.2 กรณีข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว บริษัทจะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย ดังนี้:
หมายเหตุ แนวทางการพิจารณาและการตีความคำว่า “ประโยชน์สาธารณะ” อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางการพิจารณาและการให้ความหมายของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือตามที่ระบุในกฎหมายลำดับรองซึ่งอาจมีการประกาศใช้บังคับเป็นการเพิ่มเติมในอนาคต
6. วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
6.1 กรณีเจ้าของข้อมูลเป็นพนักงาน/เคยเป็นพนักงานของบริษัท ผู้สมัครงาน ผู้สมัครฝึกงาน และนักศึกษาฝึกงาน
ข้อที่ |
วัตถุประสงค์ |
1 |
เพื่อการพิจารณาใบสมัคร การสัมภาษณ์ การประเมินความสามารถและทดสอบคุณสมบัติของเจ้าของข้อมูล ตามขั้นตอนของบริษัท รวมถึงการติดต่อสื่อสารเพื่อเสนอสัญญาหรือเข้าทำสัญญาจ้างงาน สัญญาเข้าฝึกงาน ตลอดจนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและการเลิกสัญญาดังกล่าว รวมถึงการและกระบวนการบริหารงานบุคคลอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาและคัดเลือกเข้าทำงาน หรือฝึกงานกับบริษัท การบันทึกหรือเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและติดต่อสื่อสารในกรณีที่บริษัทเปิดรับสมัครในตำแหน่งที่อาจเหมาะสมกับเจ้าของข้อมูล |
2 |
เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร ข้อมูล ตรวจสอบความประพฤติ ยืนยันหรือระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องตามข้อมูลหรือเอกสารที่ส่งมอบให้แก่บริษัท รวมถึงตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและประวัติการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในศาล การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลก่อนเข้าทำงานกับบริษัทหรือขณะเป็นพนักงานของบริษัทหรือภายหลังพ้นสภาพการเป็นพนักงานของบริษัท |
3 |
เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตามสัญญาจ้าง ข้อตกลงการจ้างงาน สัญญาแต่งตั้ง หรือสัญญาอื่นใด ที่เข้าทำกับบริษัท |
4 |
เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น กฎหมายการทำงานของคนต่างด้าว หรือกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นต้น และดำเนินการช่วยเหลือให้ได้มาซึ่งคุณสมบัติดังกล่าว รวมถึงการตรวจสอบและจัดเก็บข้อมูลอื่นที่จำเป็นต่อการพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติและความเหมาะสมกับตำแหน่งงานของท่าน เพื่อวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองแรงงานและสวัสดิภาพในการทำงาน |
5 |
เพื่อดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการติดต่อและประกอบธุรกิจของบริษัท อันเนื่องมาจากตำแหน่งหน้าที่การงาน เช่น การจัดทำนามบัตร การใช้และเปิดเผยข้อมูลของท่านเพื่อติดต่อประสานงานกับลูกค้า คู่ค้า หน่วยงานของรัฐ และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เป็นต้น และเพื่อการเข้าทำสัญญาระหว่างบริษัทกับลูกค้าหรือคู่ค้า หรือการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงการจัดทำคำขอของหน่วยงานราชการ การจัดทำสถิติ วิจัยพัฒนาธุรกิจของบริษัท การปฏิบัติตามนโยบายต่างๆ ของบริษัท หรือเพื่อใช้ในขอการอนุมัติ การมอบอำนาจให้เป็นผู้รับมอบอำนาจกระทำการแทนบริษัทในบางกรณี |
6 |
การบริหารจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลของบริษัท ได้แก่ การขึ้นทะเบียนลูกจ้าง การขึ้นทะเบียนระบบ IT แก่ลูกจ้าง การกำกับดูแลและตรวจสอบการเข้าทำงาน การประเมินประสิทธิภาพและความสามารถในการทำงาน การพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง การพิจารณาลงโทษทางวินัย และการเลิกจ้าง การจ่ายค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินโบนัส ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่บริษัทกำหนด การดำเนินการเกี่ยวกับการประกันสังคม การดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายภาษี การให้สวัสดิการต่าง ๆ ของบริษัท รวมถึงการติดต่อ ดำเนินการ ประสานงาน สอบถาม ยืนยัน เชื่อมโยง เปิดเผยข้อมูลให้หน่วยงานของรัฐ กองทุนตามที่กฎหมายกำหนด หน่วยงานอื่น ธนาคาร บริษัทประกันภัย บุคคลอื่น หรือบริษัทในกลุ่ม ในเครือ ไม่ว่าโดยผ่านระบบสื่อสารประเภทใดก็ตาม เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น การแจ้งข่าวสารและนโยบายของบริษัท ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดการและควบคุมดูแลพนักงานตามข้อบังคับการทำงานของบริษัท และกรณีมีกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ |
7 |
เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมทักษะพนักงานของบริษัท ทั้งภายในและภายนอกบริษัท และทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานรัฐ เช่น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมพัฒฯ กระทรวงแรงงาน และเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว เช่น บริษัทในกลุ่ม ผู้จัดอบรมภายนอก |
8 |
เพื่อบริหารจัดการงานด้านธุรการและเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท เช่น การดำเนินการเกี่ยวกับคำขอของพนักงานที่มีต่อบริษัท การส่งมอบอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับการทำงานของบริษัทให้กับบุคลากร การตรวจสอบการใช้งานและการส่งคืนอุปกรณ์หรือเครื่องมือดังกล่าว การติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายของบริษัท การจำกัดสิทธิการเข้าถึงและการใช้งานข้อมูลบนฐานข้อมูลของบริษัท รวมถึงการจัดการเกี่ยวกับองค์กรและการดำเนินธุรกิจของบริษัท เช่น การซื้อขายกิจการ การควบรวมกิจการ การปรับโครงสร้างบริษัท |
9 |
เพื่อการดำเนินการของบริษัทในงานด้านการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบภายใน การควบคุมภายใน การตรวจสอบมาตรฐานระบบการจัดการบริหารงานคุณภาพของบริษัท รวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลให้แก่แผนกอื่นภายในบริษัทและแก่บริษัทภายนอกที่ได้รับการรับรองให้ตรวจสอบมาตรฐานระบบการจัดการบริหารงานคุณภาพของบริษัท |
10 |
เพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของบริษัท เช่น การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าบริเวณพื้นที่บริษัท การให้สิทธิเข้าพื้นที่ และ/หรือใช้งานทรัพย์สินของบริษัท การสอดส่องดูแลบริเวณภายในบริษัทด้วยกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) การเข้า-ออกบริษัทด้วยระบบสแกนบัตร ลายนิ้วมือ หรือใบหน้า เพื่อความปลอดภัยของบุคคล ป้องกันการสูญหาย หรือเสียหายในทรัพย์สินของบริษัท หรือใช้เพื่อติดตามเอาคืนทรัพทย์สิน หรือเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหาย ในกรณีที่มีการทำทรัพย์สินของบริษัทเสียหายหรือสูญหาย เป็นต้น |
11 |
เพื่อบริหารจัดการด้านสุขอนามัย การปฎิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะด้านการสาธารณสุข เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลอุณหภูมิร่างกาย การบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลการแพ้อาหาร เป็นต้น เพื่อใช้เป็นวิธีป้องกันเชื้อโรคหรือโรคติดต่อซึ่งอาจส่งผลต่อการแพร่กระจายเชื้อในวงกว้าง รวมไปถึงในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคลที่เข้ามาภายในบริษัท ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลไปยังองค์กรภายนอกเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว เช่น เปิดเผยแก่กรมควบคุมโรค สถาบันการแพทย์และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องอื่นๆ |
12 |
เพื่อบันทึกหรือเก็บรักษาข้อมูลไว้บนฐานข้อมูลของบริษัทเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงเกี่ยวกับการจ้างงานและการปฏิบัติตามสัญญาจ้างของบริษัท เช่น การเก็บรักษาข้อมูลตามใบสมัครงาน การบันทึกข้อมูลการเข้าออกบริษัท การเก็บผลการตรวจสุขภาพประจำปีซึ่งเป็นสวัสดิการของบริษัท เป็นต้น และกรณีเก็บไว้เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับกับบริษัท เช่น การเก็บเอกสารและเปิดเผยต่อหน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด หรือการแจ้งข้อมูลต่อหน่วยงานของรัฐ |
13 |
เพื่อปกป้องสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัท หรือโต้แย้งข้อกล่าวหาที่มีต่อบริษัท เช่น การดำเนินคดีตามกฎหมาย การริเริ่มคดี การต่อสู้คดี การระงับข้อพิพาทนอกศาล และการดำเนินการอื่น ๆ เพื่อปกป้องสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัท หรือโต้แย้งข้อกล่าวหาที่มีต่อบริษัทตามที่มีกฎหมายอนุญาต |
14 |
เพื่อดำเนินงานตามกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ของบริษัท รวมถึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์นโยบายและกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรม หรือการเข้าร่วมงานอบรม สัมมนา กิจกรรม การประกวดแข่งขัน เป็นต้น การนำชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง หน่วยงาน การบันทึกเสียง ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับการดำเนินงานและกิจกรรมของบริษัท โพสต์ในหน้าเฟซบุ๊ค เว๊บไซต์ ไลน์ หรือ สื่อออนไลน์อื่นๆ รวมถึงสื่อประเภทอื่นๆ เช่น โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ เป็นต้น |
15 |
เพื่อบันทึกและเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในทะเบียนพนักงาน การรับรองและเพื่อการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงาน |
16 |
เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของข้อมูลในกรณีจำเป็น หรือเกิดเหตุฉุกเฉิน ที่อาจเกิดกับท่านภายในบริเวนของบริษัท หรือระหว่างปฏิบัติหน้าที่ให้บริษัท เช่น แจ้งเหตุอันตรายที่เกิดแก่เจ้าของข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ |
17 |
เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ และ/หรือเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับชีวิต สุขภาพหรือความปลอดภัยของเจ้าของข้อมูล |
18 |
เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ของบริษัท เช่น การบริหารจัดการ การเงิน การวางแผนงบประมาณ และการบัญชี รวมทั้งการรายงาน วิเคราะห์สถิติ เป็นต้น |
19 |
เพื่อดำเนินการกรณีต่างๆ ที่ระบุไว้ในประกาศเรื่องนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทซึ่งได้ประกาศแล้ว หรือจะที่ประกาศต่อไป |
20 |
เพื่อดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลไว้ในระยะเวลาตามที่กฏหมายกำหนด |
21 |
เพื่อปรับปรุงหรืออัพเดตข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยบุคคลที่สามในการเข้าถึงเพื่อประมวลผล และ/หรือตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลตามคำขอของบริษัท |
22 |
เพื่อกระทำการใดๆ ของบริษัท อันเกิดประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูล |
6.2 กรณีเจ้าของข้อมูลเป็นบุคคลนอกหนือจากกรณีตามข้อ 6.1
ข้อที่ |
วัตถุประสงค์ |
1 |
เพื่อการติดต่อประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท เช่น การเจรจาก่อนการเข้าทำสัญญากับเจ้าของข้อมูล หรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่เจ้าของข้อมูลกระทำการแทน การนัดประชุม เจรจาทางธุรกิจ การทำใบเสนอราคา การจัดทำคำสั่งซื้อ การเจรจาตกลงขอบเขตของข้อสัญญา การตรวจสอบและขึ้นทะเบียนของเจ้าของข้อมูลในฐานข้อมูลของบริษัท การติดต่อประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวก เตรียมความพร้อมในการเชิญมาเป็นวิทยากร หรือเข้าร่วมกิจกรรม โครงการ อบรม สัมมนาต่างๆ การพิจารณาคุณสมบัติผู้เข้าร่วมกิจกรรม โครงการ อบรม สัมมนา รวมถึงผู้รับเหมาแรงงานในการเข้าปฏิบัติงานทั้งในนามบุคคล นิติบุคคลตามนโยบายบริษัท การอนุมัติและหรือการมอบอำนาจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ การบริหารความสัมพันธ์ เป็นต้น |
2 |
เพื่อการเข้าทำสัญญาและการปฏิบัติตามสัญญา เช่น การติดต่อประสานงานเข้าทำสัญญาซื้อขายสินค้าและบริการ หรือสัญญาปฏิบัติงานในฐานะวิทยากร หรือผู้รับเหมาแรงงาน การติดตามสินค้าที่สั่งซื้อหรือบริการตามสัญญา การดำเนินการเพื่อส่งและรับสินค้าหรือบริการ การขอเปลี่ยนและส่งคืนสินค้า การชำระค่าสินค้าหรือบริการ การตรวจสอบการปฏิบัติงานตามสัญญาสำหรับวิทยากร ผู้รับเหมา และการจ่ายค่าตอบแทน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลของเจ้าของข้อมูลให้ให้แก่บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ให้บริการขนส่งสินค้า ผู้รับเหมา ผู้ให้บริการหรือผู้เชี่ยวชาญภายนอกเพื่อการให้บริการตามสัญญาหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแก่สินค้าและบริการ การติดต่อประสานงานกับเจ้าของข้อมูลในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสัญญาด้วย เช่น การขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและรายละเอียดอื่น ๆ ในสัญญา การต่ออายุสัญญา เป็นต้น |
3 |
เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสินค้าและการให้บริการ รวมถึงการดำเนินการเกี่ยวกับลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การรับเรื่องร้องเรียน การประเมินผล การสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการและสำรวจความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการ เพื่อออกแบบกิจกรรมส่งเสริมการขายหรือการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการให้บริการของบริษัท |
4 |
เพื่อการดำเนินการทางธุรกรรม เช่น การออกเอกสารทางธุรกิจ การดำเนินการใด ๆ เพื่อการชำระ หรือรับเงินค่าสินค้า บริการ และการปฏิบัติหน้าที่ การติดตามทวงถาม ทวงหนี้ กรณีผิดนัดไม่ชำระเงิน หรือไม่ส่งสินค้า บริการ หรือปฏิบัติหน้าที่ตามกำหนด |
5 |
เพื่อการประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยง การวางแผน การรายงาน การวิเคราะห์ การทำสถิติ การตรวจสอบสถานะของกิจการ การตรวจสอบประวัติรูปแบบอื่นใดตามกระบวนการของบริษัท การพิสูจน์หรือยืนยันตัวตนและการตรวจสอบอำนาจ การมอบอำนาจและรับมอบอำนาจในการลงนามในข้อตกลงหรือสัญญาต่างๆ กับบริษัท การคาดการณ์ทางธุรกิจ การบริหารความเสี่ยง การกำกับการตรวจสอบ รวมถึงการตรวจสอบภายในของสำนักตรวจสอบภายใน และการบริหารจัดการภายในองค์กร การวางแผนงบประมาณ และการบริหารด้านบัญชีการเงิน |
6 |
เพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของบริษัท เช่น การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าบริเวณพื้นที่บริษัท การให้สิทธิเข้าพื้นที่ และ/หรือใช้งานทรัพย์สินของบริษัท การสอดส่องดูแลบริเวณภายในบริษัทด้วยกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) การเข้า-ออกบริษัทด้วยระบบสแกนบัตร ลายนิ้วมือ หรือใบหน้า เพื่อความปลอดภัยของบุคคล ป้องกันการสูญหาย หรือเสียหายในทรัพย์สินของบริษัท หรือใช้เพื่อติดตามเอาคืนทรัพทย์สิน หรือเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหาย ในกรณีที่มีการทำทรัพย์สินของบริษัทเสียหายหรือสูญหาย เป็นต้น |
7 |
เพื่อการบริหารจัดการด้านสุขอนามัย การปฎิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะด้านการสาธารณสุข เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลอุณหภูมิร่างกาย การบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพ การตรวจวัดอุณภูมิ ข้อมูลการแพ้อาหาร เป็นต้น เพื่อใช้เป็นวิธีป้องกันเชื้อโรคหรือโรคติดต่อซึ่งอาจส่งผลต่อการแพร่กระจายเชื้อในวงกว้าง รวมไปถึงในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคลที่เข้ามาภายในบริษัท ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลไปยังองค์กรภายนอกเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว เช่น เปิดเผยแก่กรมควบคุมโรค สถาบันการแพทย์และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องอื่นๆ |
8 |
เพื่อการปกป้องสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัท หรือโต้แย้งข้อกล่าวหาที่มีต่อบริษัท เช่นการดำเนินคดีตามกฎหมาย การิรเริ่มคดี การต่อสู้คดี การระงับข้อพิพาทนอกศาลและการดำเนินการอื่นๆ เพื่อปกป้องสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายหรือโต้แย้งข้อกล่าวหาที่มีต่อบริษัทตามที่มีกฎหมายอนุญาต |
9 |
เพื่อดำเนินงานตามกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ของบริษัท รวมถึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์นโยบายและกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรม หรือการเข้าร่วมงานอบรม สัมมนา กิจกรรม การประกวดแข่งขัน เป็นต้น การนำชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง หน่วยงาน การบันทึกเสียง ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับการดำเนินงานและกิจกรรมของบริษัท โพสต์ในหน้าเฟซบุ๊ค เว๊บไซต์ ไลน์ หรือ สื่อออนไลน์อื่นๆ รวมถึงสื่อประเภทอื่น เช่น โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ เป็นต้น |
10 |
เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับกับบริษัท เช่น กฏหมายเกี่ยวกับภาษีอากร การจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลทางบัญชีให้แก่ผู้ตรวจสอบบัญชี และหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายและคำสั่งของผู้มีอำนาจ เป็นต้น รวมถึงข้อบังคับ ข้อกำหนดตามกฏหมายหรือหน่วยงานราชการกำหนดทั้งก่อน ขณะหรอภายหลังจากที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้หรือหมายศาล หนังสือ คำสั่งของเจ้าพนักงาน หน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่และอำนาจตามกฏหมาย |
11 |
เพื่อสนับสนุนด้านการนำเข้าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมไปถึงการสมัครเข้าใช้งานระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ หรือการเปิดสิทธิเข้าถึงหรือใช้งานอินเตอร์เน็ต หรือระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ การนำข้อมูลไปใช้ การบำรุงรักษาระบบและแอพลิเคชันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การตรวจสอบระบบต่างๆ เพื่อป้องกันการใช้งานที่ผิดกฏหมายหรือขัดต่อนโยบายบริษัท |
12 |
เพื่อติดต่อ และแจ้งรายละเอียดการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ กิจกรรม โครงการ อบรม สัมมนาต่างๆ ของบริษัทให้เจ้าของข้อมูลทราบหรือให้ปฏิบัติตาม |
13 |
เพื่อการดำเนินการเกี่ยวกับการโอนสิทธิ หน้าที่ และผลประโยชน์ใดๆ เช่น การควบรวมกิจการ การแยก หรือโอนกิจการ หรือซึ่งกระทำโดยชอบด้วยกฏหมาย |
14 |
เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการติดต่อประสานงานหรือสอบถาม ยืนยันข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูล และ/หรือส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานราชการ หน่วยงานอื่น บุคคลอื่น หรือบริษัทในกลุ่มบริษัทในเครือ ไม่ว่าโดยผ่านระบบสื่อสารประเภทใดก็ตาม เช่น ไปรษณีย์ อีเมล โทรศัพท์ ไลน์ หรือช่องทางการติดต่อผ่านสื่อโซเชียลอื่นๆ เป็นต้น |
15 |
เพื่อการจัดการเกี่ยวกับองค์กรและการดำเนินธุรกิจของบริษัท เช่น การตรวจสอบและพัฒนาการให้บริการ การค้นหาคู่ค้ารายใหม่ให้กับบริษัทหรือบริษัทในเครือในกลุ่ม การจัดการด้านระบบและฐานข้อมูลการขออนุญาตประกอบธุรกิจกับหน่วยงานรัฐ การสอบบัญชี การตรวจสอบภายใน การขอคำปรึกษาจากที่ปรึกษาทางธุรกิจ การซื้อขายกิจการ การควบรวมกิจการ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร |
16 |
เพื่อสืบสวน สอบสวนกรณีมีเรื่องร้องเรียน หรือเพื่อป้องกันการทุจริต หรือเพื่อตรวจสอบและป้องกันการติดสินบนหรือรับสินบน การคอร์รัปชั่น การฉ้อโกง การยักยอก การคุกคามทางเพศ หรือการกระทำใดๆ ที่มิชอบด้วยกฏหมาย |
17 |
เพื่อรายงานหรือเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้น ผู้สอบบัญชี หน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร กรมที่ดิน สำนักงานคณะการส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น |
18 |
เพื่อปฏิบัติตามนโยบาย หรือกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่บริษัทกำหนดหรือเข้าร่วม |
19 |
เพื่อดำเนินการกรณีต่างๆ ที่ระบุไว้ในประกาศเรื่องนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทซึ่งได้ประกาศแล้ว หรือจะที่ประกาศต่อไป |
20 |
เพื่อดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลไว้ในระยะเวลาตามที่กฏหมายกำหนด |
21 |
เพื่อปรับปรุงหรืออัพเดตข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยบุคคลที่สามในการเข้าถึงเพื่อประมวลผล และ/หรือตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลตามคำขอของบริษัท |
22 |
เพื่อกระทำการใดๆ ของบริษัท อันเกิดประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูล |
บริษัทจะไม่กระทำการใดๆ นอกเหนือจากที่ระบุในวัตถุประสงค์ข้างต้น เว้นแต่
7. การให้ความยินยอม
บริษัท จะเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นหนังสือ หรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ก่อนหรือในขณะนั้น ยกเว้นกรณีที่โดยสภาพไม่อาจขอความยินยอมด้วยวิธีดังกล่าว
ในกรณีที่ บริษัท เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว บริษัทจะขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลโดยชัดแจ้งก่อน เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด การให้ความยินยอมของเจ้าของข้อมูล หมายถึง เจ้าของข้อมูลยินยอมให้บริษัท กระทำการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย หรือเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลต่อบุคคล หรือนิติบุคคลทั้งในประเทศและต่างประเทศตามที่ระบุไว้ข้างต้นตามนโยบายนี้ เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
8. การปฏิเสธการให้ความยินยอม
การให้ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่กระทำโดยสมัครใจ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอาจปฏิเสธการให้ข้อมูลตามที่บริษัทร้องขอได้ แต่การไม่ให้ข้อมูลดังกล่าว อาจส่งผลให้บริษัท ไม่สามารถเข้าทำสัญญา ข้อผูกพัน ให้สวัสดิการ ให้หรือรับสินค้าหรือบริการใดๆ แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือไม่สามารถดำเนินการใดๆ ตามที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลร้องขอ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา หรือเงื่อนไขและข้อกำหนดใดๆ ที่ต้องปฏิบัติได้
9. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลไปให้บุคคลใดโดยปราศจากความยินยอม และจะเปิดเผยตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการแจ้งไว้ อย่างไรก็ดี เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบริษัทและการให้บริการแก่เจ้าของข้อมูล บริษัทอาจมีความจำเป็นในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล ให้แก่บริษัทในเครือ หรือบุคคลอื่นทั้งในและต่างประเทศ เช่น ผู้ให้บริการต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล โดยในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่บุคคลดังกล่าว บริษัทจะดำเนินการให้บุคคลเหล่านั้นเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้เป็นความลับ และไม่นำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากขอบเขตที่บริษัทได้กำหนดไว้
นอกจากนี้ บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เช่น การเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานราชการ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงในกรณีที่มีการร้องขอให้เปิดเผยข้อมูลโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย เช่น การร้องขอข้อมูลเพื่อการฟ้องร้องหรือดำเนินคดีตามกฎหมาย หรือการร้องขอจากหน่วยงานเอกชน หรือบุคคลภายนอกอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฎหมาย
10. มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
บริษัทกำหนดมาตรการต่าง ๆ รวมถึงมาตรการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่พนักงานของบริษัทและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้และตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในการเก็บรวบรวม การจัดเก็บรักษา การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล โดยพนักงานของบริษัทต้องปฏิบัติตามนโยบาย และแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่บริษัทกำหนดไว้ เพื่อให้บริษัทสามารถปฏิบัติตามนโยบายและพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
11. ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในระยะเวลาที่จำเป็น โดยจะเก็บตลอดระยะเวลาที่เจ้าของข้อมูลมีความสัมพันธ์กับบริษัท และภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าของข้อมูลยุติความสัมพันธ์กับบริษัท เว้นแต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ ภายหลังสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว
12. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ท่านมีสิทธิในการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดดังต่อไปนี้
12.1 สิทธิเพิกถอนความยินยอม โดยการเพิกถอนความยินยอมจะไม่ส่งผลกระทบต่อความถูกต้องสมบูรณ์ของการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้กระทำก่อนที่จะมีการเพิกถอนความยินยอมนั้น
12.2 สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและขอให้บริษัททำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ รวมถึงขอให้บริษัทเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อบริษัทให้แก่ท่านได้
12.3 สิทธิร้องขอรับและขอให้โอนหรือส่งข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในรูปแบบที่สามารถอ่าน หรือใช้งานทั่วไปด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานโดยอัตโนมัติไปยังบุคคลอื่น ตัวท่านเอง หรือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ทั้งนี้ โดยขึ้นอยู่กับข้อยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด
12.4 สิทธิคัดค้านการการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทได้ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย
12.5 สิทธิร้องขอให้ลบข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลกลายเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ตามเงื่อนไขของกฎหมาย
12.6 สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการตามคำขอตามบัญญัติแห่งกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
12.7 สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง ท่านมีสิทธิในการขอให้บริษัทแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือ เพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ได้
12.8 สิทธิในการร้องเรียน ท่านมีสิทธิในการร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลด้ารการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
การเรียกร้องตามสิทธิดังกล่าวจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลได้ให้ความยินยอมโดยชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงไม่ขัดต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายอื่นใดที่ บริษัทจำเป็นต้องปฏิบัติตาม
ท่านสามารถขอใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นได้ โดยยื่นคำร้องขอใช้สิทธิต่อบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ตามแบบฟอร์ม ผ่าน “ช่องทางการติดต่อ” ของบริษัทด้านล่าง โดยบริษัทจะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาตามคำร้องฯ ของเจ้าของข้อมูล ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทอาจปฏิเสธสิทธิของเจ้าของข้อมูลได้ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดไว้
13. ผู้เยาว์ บุคคลไร้ความสามารถและบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
กรณีที่ บริษัท ทราบว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมในการเก็บรวบรวม เป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นผู้เยาว์ (บุคคลที่มีอายุต่ำหว่า 20 ปีบริบูรณ์) คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ บริษัท จะไม่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจนกว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์ หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ตามแต่กรณี ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
กรณีที่ บริษัท ไม่ทราบมาก่อนว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และมาพบในภายหลังว่า บริษัท ได้เก็บรวบรวมข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวโดยยังมิได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์ หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ตามแต่กรณี ดังนี้ บริษัทจะดำเนินการลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลนั้นโดยเร็วหาก บริษัท ไม่มีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายประการอื่นนอกเหนือจากความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
14. การทบทวนและเปลี่ยนแปลงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทอาจทำการปรับปรุงหรือแก้ไขนโยบายนี้เป็นครั้งคราวเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของบริษัท รวมถึงข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยบริษัทจะประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงให้ทราบอย่างชัดเจน ก่อนจะเริ่มดำเนินการเปลี่ยนแปลง
15. ช่องทางการติดต่อบริษัท
หากท่านมีข้อสงสัย ข้อเสนอแนะใดเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลของบริษัท หรือเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ หรือประสงค์ที่จะใช้สิทธิตามกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่
ที่อยู่ บริษัท อะมะดะ (ประเทศไทย) จำกัด
นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย (สุวรรณภูมิ)
88/41 หมู่ 4 ต.คลองสวน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ 10560
โทรศัพท์ 02 170 5900
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล คุณจันทร์จิรา จันทร์บัว
ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2566
( นายชูอิจิ โคจิมะ )
กรรมการผู้จัดการ